ค่านิยมองค์กร : " สามัคคี มีคุณธรรม โปร่งใส ใส่ใจบริการ "

โทร : 034-564-330  E-mail kan1@kan1.go.th

ผลงานทางวิชาการ

 

แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑

****************************************

 

วิสัยทัศน์ 

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 เป็นองค์กรคุณภาพ สร้างคนดี 

มีความสุข โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ 

  1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความมั่นคงของสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  

  1. ส่งเสริม พัฒนา ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับความปลอดภัย
  2. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
  3. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นเลิศ
    ทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
  4. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความ
    เป็นมืออาชีพ สมรรถนะด้านภาษาและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
  5. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
  6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

เป้าประสงค์ 

  1. ผู้เรียนมีความสำนึกรักชาติ ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิ
และหน้าที่อย่างรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย  

  1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมทั้ง สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
  2. ผู้เรียนได้รับโอกาสความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
  3. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสอดคล้องกับศักยภาพ มีสมรรถนะและทักษะ
    ที่จำเป็นสำหรับอนาคต มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวางแผนในการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำและสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  
  4. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษาและอื่นๆ

ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ และมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัล (Digital Technology)

  1. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะความรู้
    ความเชี่ยวชาญและจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
  2. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) บูรณาการ soft power และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์

  1. ส่งเสริม พัฒนา ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ
  2. สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
  3. ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
  4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

ค่านิยมองค์กร

          “สามัคคี มีธรรมาภิบาล ใส่ใจบริการ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์”

 

 

***********************************

เป้าประสงค์

     1. ผู้เรียนมีความจงรักภักดีในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้องและเป็นพลเมืองดีของชาติ

     2. ผู้เรียนได้รับโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง

     3. ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีคุณภาพ

     4. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษาและอื่นๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ

     5. ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีสมรรถนะตามหลักสูตร คุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะในศตวรรษที่ 21 มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย ดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     6. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ และมีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ

     7. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     8. สถานศึกษามีการบูรณาการในการกำกับ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลโดยการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ

     9. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล มีระบบ ข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ คือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ) ได้ให้คำจำกัดความของผลงานทางวิชาการไว้ 7 ประเภทใหญ่ คือ เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน บทความทางวิชาการ ตำรา หนังสือ งานวิจัย และผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ๆ ดังนี้

เอกสารประกอบการสอน
     เอกสารประกอบการสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาและวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ จัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้สอนในการใช้ประกอบการสอน

 

เอกสารคำสอน
     เอกสารการสอน หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ใช้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่สะท้อนให้เห็นเนื้อหาวิชาที่สอน และวิธีการสอนอย่างเป็นระบบ โดยอาจพัฒนาขึ้นจากเอกสารประกอบการสอนจนมีความสมบูรณ์กว่า เอกสารประกอบการสอนจัดเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้เรียนที่นำไปศึกษาด้วยตนเอง หรือเพิ่มเติมขึ้นจากการเรียนในมิตินั้น ๆ

 

บทความทางวิชาการ
     บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนทางวิชาการซึ่งมีการกำหนดประเด็นที่ต้องการอธิบาย หรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ประเด็นดังกล่าวทางหลักวิชาการ จนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ อาจเป็นการนำความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประมวลร้องเรียนเพื่อวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยที่ผู้เขียนแสดงทัศนะทางวิชาการของตนไว้อย่างชัดเจน

 

ตำรา
     ตำรา หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมเนื้อหาสาระของวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรือของหลักสูตรก็ได้ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา

     เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอตำแหน่งวิชาการ ทั้งนี้ผู้ขอจะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย

     ผลงานทางวิชาการที่เป็น "ตำรา" นี้ อาจได้รับการพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอนจนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น

 

หนังสือ
     หนังสือ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้น โดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมความคิดและสร้างความแข็แกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้น ๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุม โดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เพื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์

 

งานวิจัย
     งานวิจัย หมายถึง หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลคำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์ใช้

 

ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น
     ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น หมายถึง ผลงานทางวิชาการอย่างอื่นที่มิใช่เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน บทความทางวิชาการ หนังสือ ตำรา หรือ งานวิจัย โดยปกติหมายถึง สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ อาทิ การประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง ผลงานการสร้างสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ วัคซีน สิ่งก่อสร้าง หรือผลงานด้านศิลปะ หรือสารานุกรม

     รวมถึง งานแปลจากตัวงานต้นแบบที่เป็นงานวรรณกรรม หรืองานด้านปรัชญา หรือ ประวัติศาสตร์ หรือวิทยาการ สาขาอื่นบางสาขาที่มีความสำคัญและทรงคุณค่าในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งเมื่อนำมาแปลแล้วจะเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการที่ประจักษ์ชัด เป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ หรือแปลจากภาษาต่างประเทศหนึ่งเป็นภาษาต่างประเทศอีกภาษาหนึ่ง

     ผลงานวิชาการในลักษณะอื่นที่เสนอจะต้องประกอบด้วยบทวิเคราะห์ที่อธิบายและชี้ให้เห็นว่า งานดังกล่าวทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือ เสริมสร้างองค์ความรู้ หรือให้วิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชานั้น ๆ และแสดงถึงความสามารถในการบุกเบิกในสาขาวิชานั้น ๆ สำหรับผลงานที่มุ่งในเชิงปฏิบัติจะต้องผ่านการพิสูจน์หรือมีหลักฐานรายละเอียดต่าง ๆ ประกอบ แสดงให้เห็นคุณค่าของผลงาน

สถิติเว็บไซต์

0.png2.png1.png4.png7.png8.png9.png0.png
วันนี้4834
เมื่อวานนี้14822
อาทิตย์นี้31917
เดือนนี้141553
รวม2147890

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

13
ท่าน