ค่านิยมองค์กร : " สามัคคี มีคุณธรรม โปร่งใส ใส่ใจบริการ "

โทร : 034-564-330  E-mail kan1@kan1.go.th

นโยบายและยุทธศาสตร์
       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหาร จัดการศึกษาไว้ว่า “พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและบุคลากร สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน” โดยมีวิธีการปฏิบัติให้บรรลุความสำเร็จด้วย 4 กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริม พัฒนา ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ


เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคาม 9 รูปแบบ ได้แก่ ภัยยาเสพติด ภัยความรุนแรง ภัยพิบัติต่าง ๆ อุบัติเหตุ โรคอุบัติใหม่ ฝุ่น PM 2.5 การค้ามนุษย์ การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงอาชญากรรมไซเบอร์
2. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลความปลอดภัยและสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยและจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สถานศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบและมีความปลอดภัยจากภัยทุกประเภท
2. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่มีการประเมินความเสี่ยง และมีแผน/มาตรการ กิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือทักษะในการรับมือด้านความปลอดภัย (Safety Action) ทุกรูปแบบและมีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ
3. ร้อยละของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบ และมีความปลอดภัยจากภัยทุกประเภท และสามารถถ่ายทอดไปสู่สถานศึกษา

 

กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ
2. เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
4. เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน ได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 80 ของอัตราการเข้าเรียนสุทธิ (Net enrollment rate) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. ร้อยละ 100 ของอัตราการเข้าเรียนสุทธิของผู้เรียนปฐมวัย
3. ร้อยละ 90 ของเด็กออกกลางคัน เด็กตกหล่นกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม
4. จำนวนของผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาที่เหมาะสมตามความจำเป็นและศักยภาพ
5. จำนวนของผู้เรียนที่เป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ได้รับการส่งเสริมศักยภาพที่เหมาะสม
6. ร้อยละ 90 ของสถานศึกษามีการนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการรับและให้บริการ การศึกษา รวมถึงการส่งต่อผู้เรียนระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ
7.ร้อยละ 70 ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียน

 

กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. เด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษกาญจนบุรี เขต 1 มีพัฒนาการสมวัย
2. ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ
3. ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
4. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีมีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมทั้งจิตวิญญาณ ความเป็นครู
5. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6. สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่นตอบสนอง ต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 80 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
2. ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาในสังกัดที่สามารถจัดการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมพหุปัญญาของผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือคัดกรอง/สำรวจแวว/วัดความสามารถความถนัดของผู้เรียน
3. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาในสังกัดที่มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
4. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มีการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
5. ร้อยละ 95 ของผู้เรียนปฐมวัยในสังกัดมีพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
6. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง คุณธรรมจริยธรรม
7. ร้อยละ 100 ของผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาการ อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น 
8. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) ของผู้เรียน
9. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่จัดกิจกรรม หนึ่งดนตรี หนึ่งกีฬา หนึ่งอาชีพ
10. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาจัดการศึกษาตามแนวพระบรมราโชบายรัชกาลที่ 10
11. ร้อยละ 80 ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
12. ร้อยละ 80 ของครูสอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้ระดับการพัฒนาทางด้านภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด


กลยุทธ์ที่ 4 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีระบบการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะอัตรากำลังและงบประมาณ ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการส่งเสริมการมีส่วนร่วม ที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
5. สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษาในพื้นที่ลักษณะพิเศษ และโรงเรียนคุณภาพ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ ที่เหมาะสมกับบริบท
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน/หน่วยงาน/องค์กร/บุคคลภายนอก ในการบริหารจัดการและการให้บริการการศึกษา
2. ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีการพัฒนาบริหารจัดการ และการให้บริการการศึกษา ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ร้อยละ 76 ของสถานศึกษามีผลการประกันคุณภาพภายในระดับดีเลิศขึ้นไป
4. ร้อยละ 80 ของโรงเรียนคุณภาพที่มีการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้สำเร็จตามเป้าหมาย
5. ร้อยละ 80 ของสถานศึกษามีการบริหารจัดการด้านงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ
6. ร้อยละ 50 ของสถานศึกษาที่ได้รับการพัฒนาเป็นโรงเรียนคุณภาพอย่างยั่งยืน
7. ร้อยละ 100 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน

สถิติเว็บไซต์

0.png1.png8.png5.png3.png1.png0.png7.png
วันนี้2764
เมื่อวานนี้6588
อาทิตย์นี้18362
เดือนนี้129956
รวม1853107

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

14
ท่าน