ค่านิยมองค์กร : " สามัคคี มีคุณธรรม โปร่งใส ใส่ใจบริการ "

โทร : 034-564-330  E-mail kan1@kan1.go.th

ส่วนที่ 3

สาระสำคัญของแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

            ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 บัญญัติให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายในการพัฒนา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถยกระดับการพัฒนาให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” รัฐบาลจึงได้ประกาศยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561 - 2580) ในการพัฒนาประเทศระยะ 20 ปี ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง 2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน 3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม 5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้กำหนดประเด็นการพัฒนาไว้ 23 ประเด็น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะ คือ ประเด็นที่ 11 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต  และประเด็นที่ 12 การพัฒนาการเรียนรู้

            เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับทิศทางของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี
และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประเทศไทยจะได้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1  จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ตัวชี้วัด ดังนี้

วิสัยทัศน์ 

องค์กรคุณภาพ สร้างคนดี มีความสุข บริหารจัดการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

พันธกิจ 

  1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและความมั่นคงของสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  2. ส่งเสริม พัฒนา ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้รับความปลอดภัย
  3. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
  4. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตร และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีความเป็นเลิศ
    ทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
  5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ มีความเป็นมืออาชีพ สมรรถนะด้านภาษา การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)  
  6. ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
  7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับและจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)

เป้าประสงค์/เป้าหมาย

  1. ผู้เรียนมีความสำนึกรักชาติ ปฏิบัติตนตามหลักศาสนา จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิ
    และหน้าที่อย่างรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
  2. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการดูแลความปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ รวมทั้ง สามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
  3. ผู้เรียนได้รับโอกาสความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
  4. ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสอดคล้องกับศักยภาพ มีสมรรถนะและทักษะ
    ที่จำเป็นสำหรับอนาคต มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวางแผนในการศึกษาต่อเพื่อการมีงานทำและสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  
  5. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษาและอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัล (Digital Technology)
    และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  6. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถนะความรู้
    ความเชี่ยวชาญและจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
  7. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) บูรณาการ Soft Power และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาระบบบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

ค่านิยมองค์กร

          “สามัคคี มีธรรมาภิบาล ใส่ใจบริการ บริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์”

จุดเน้น

  1. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
  2. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
  3. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
  4. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
  5. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
  6. จัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
  7. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ

8 เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา

  1. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
  2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
  3. ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
  4. ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด โปร่งใส
    และตรวจสอบได้
  6. ประเด็นท้าทาย 1) ความปลอดภัยของสถานศึกษา 2) พาน้องกลับมาเรียน-พาการเรียนไปหาน้อง Zero Dropout 3) ครูช่วงชั้นตามนักเรียน และ 4) PISA 2025

กลยุทธ์

  1. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน
  2. ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
  3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา
  4. ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

กลยุทธ์ที่ 1    เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนทุกคน

                 เป้าหมาย

  1. ผู้เรียนระดับปฐมวัยได้มีโอกาสเข้ารับการพัฒนาที่เหมาะสมตามวัย
  2. ประชากรวัยเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคจนจบการศึกษาภาคบังคับ
  3. เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
  4. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
  5. เด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะออกจากระบบการศึกษา เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันได้รับการช่วยเหลือให้ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย

 ปี 2568

ผู้รับผิดชอบ

1

ร้อยละของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในรูปแบบ

ที่หลากหลายเหมาะสมกับผู้เรียน

ร้อยละ

90

น.ส.กำไลมาศ

        มีทรัพย์

นางทองพูน

       สร้อยดอกจิก

2

ร้อยละของสถานศึกษามีการนำข้อมูลสารสนเทศ

มาใช้ในการรับและให้บริการการศึกษา รวมถึง

การส่งต่อผู้เรียน ระดับปฐมวัย และการศึกษา

ขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ

96

น.ส.กำไลมาศ

       มีทรัพย์

น.ส.ยุรี เตชะดี

3

จำนวนของผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม ตามความจำเป็น
และศักยภาพ

ร้อยละ

90

น.ส.กชกร

       วิมลพันธ์

นางพิมพาภัทร์ 
      จันทร์เรือง

4

ร้อยละของนักเรียนยากจนที่ผ่านการคัดกรอง

ตามหลักเกณฑ์การคัดกรองปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน

สำหรับนักเรียนยากจน

ร้อยละ

100

นางสุนันทา ชมภู

5

เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน

5.1

ร้อยละของเด็กออกกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

ร้อยละ

80

น.ส.ยุรี  เตชะดี

5.2

ร้อยละของเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา

เด็กตกหล่น ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม เพิ่มขึ้น

ร้อยละ

3

น.ส.ยุรี  เตชะดี

5.3

อัตราการออกกลางคันของผู้เรียนระดับพื้นฐานลดลง

ร้อยละ

0

น.ส.ยุรี  เตชะดี

แนวทางการพัฒนา

ที่

แนวทางการพัฒนา

การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน

1

พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนระดับปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล เป็นฐานข้อมูลในการบริหารจัดการศึกษา รวมทั้งบูรณาการและเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานอื่น

ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลและป้องกันไม่ให้ผู้เรียนออกจากระบบการศึกษา

2

ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างต่อเนื่อง ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และระดมทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

3

ส่งเสริม สนับสนุนให้มีเทคโนโลยีดิจิทัล หรือนวัตกรรม ในการสร้างโอกาสทางการศึกษา

ให้ผู้เรียนทุกคน ทุกพื้นที่เข้าถึงการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

4

พัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยบุคคล ครอบครัว (Home School)

องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการในศูนย์การเรียน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

5

พัฒนาระบบแพลตฟอร์มในการส่งต่อ ติดตาม และค้นหานักเรียน เพื่อช่วยเหลือเด็กตกหล่น

เด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา หรือได้รับการศึกษาด้วยรูปแบบที่เหมาะสม

6

กำหนดแนวทาง และกระบวนการในการส่งต่อนักเรียนให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

หรือมีทักษะอาชีพในการดำรงชีวิต

7

พัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา รวมทั้งกระบวนการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม

กับการพัฒนาศักยภาพของเด็กพิการ

การดูแล ส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน

8

จัดการศึกษาให้ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

9

สร้างการศึกษาทางเลือกและการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) ที่หลากหลายให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ และกลุ่มเปราะบาง ในการเข้าถึงการศึกษา การเรียนรู้ และมีพื้นฐานการประกอบอาชีพหรือทักษะอาชีพ อย่างเท่าเทียม

10

ส่งเสริมเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส มีโอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ

และทักษะวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นสามารถพึ่งตนเองได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

11

ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้มีคุณภาพ และเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน

การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสถานศึกษาที่มีคุณภาพทุกพื้นที่

12

พัฒนาโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) ให้สามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชากรวัยเรียนและผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ

 

กลยุทธ์ที่ 2   ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

                เป้าหมาย

  1. เด็กปฐมวัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีพัฒนาการสมวัย
  2. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความรักในสถาบันหลักของชาติ
    และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นพลเมืองที่รู้สิทธิ
    และหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภูมิใจในความเป็นไทย
  3. 3. ผู้เรียนทุกช่วงวัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน สอดคล้องกับศักยภาพ ให้เป็นผู้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็น
  4. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
    ของเทคโนโลยี มีสมรรถนะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ และจิตวิญญาณความเป็นครู
  5. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  6. สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีระบบการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย ปี 2568

ผู้รับผิดชอบ

1

ร้อยละของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะ และทักษะที่จำเป็น

ร้อยละ

95

นางนิลวรรณ

       ทองเทียนชัย

นางพัฒน์รวี

       ฉัตรศรีทองกุล

น.ส.กุลนิษฐ์

      ทองเกลี้ยง

2

ร้อยละของผู้เรียนปฐมวัยในสังกัดมีพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

ร้อยละ

96

นางพิมพาภัทร์

       จันทร์เรือง

3

ร้อยละของผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ตามหลักสูตรแกนกลางฯ ระดับดีขึ้นไป

ร้อยละ

98

นางจันจิรา คุณฑี

นางสุนันทา ชมภู

4

การส่งเสริมและส่งต่อพหุปัญญา

4.1

ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีข้อมูลการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญารายบุคคล ต่อนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด

ร้อยละ

40

น.ส.ศศิชา

       ทรัพย์ล้น

นายพนภาค

       ผิวเกลี้ยง

4.2

ร้อยละของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการส่งต่อการพัฒนาตามศักยภาพหรือพหุปัญญา ต่อเด็กนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด

ร้อยละ

58

น.ส.ศศิชา

       ทรัพย์ล้น

นายพนภาค

       ผิวเกลี้ยง

5

ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ส่งเสริมการประเมินความฉลาดรู้ตามแนวทางการประเมิน PISA ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับการประเมินระดับนานาชาติ

ร้อยละ

100

น.ส.พรรณิภา

       หาญรักษ์

6

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่ได้รับการพัฒนาความสามารถ
ทางภาษาอังกฤษตามกรอบมาตรฐาน CEFR  

ร้อยละ

95

น.ส.ปุณยนุช

       ทองศรี

7

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่สามารถบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะสำคัญ
ของผู้เรียน

ร้อยละ

65

นางนิลวรรณ

       ทองเทียนชัย

นางพัฒน์รวี

       ฉัตรศรีทองกุล

น.ส.กุลนิษฐ์

      ทองเกลี้ยง

8

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ที่นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปใช้ในการจัดการเรียนรู้

หรือการปฏิบัติงาน

ร้อยละ

100

นายพนภาค

       ผิวเกลี้ยง

9

สัดส่วนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ที่มีผลการทดสอบ O-NET ใน 4 วิชาหลัก (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์) ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
ต่อจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ที่เข้ารับการทดสอบ (ร้อยละในแต่ละวิชาภาษาไทย : ภาษาอังกฤษ : คณิตศาสตร์ : วิทยาศาสตร์)

ร้อยละ

65 : 2 : 2 : 2

นางพัฒน์รวี

      ฉัตรศรีทองกุล

10

ร้อยละของสถานศึกษาในสังกัดที่มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่นตอบสนองต่อความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

ร้อยละ

90

น.ส.รัชนีพร

    จาวรุ่งวณิชสกุล

11

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และมีการวัดและประเมินผล

เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริม

การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)

ร้อยละ

90

นางจันจิรา คุณฑี

นางนิลวรรณ

     ทองเทียนชัย

น.ส.ศศิชา ทรัพย์ล้น

12

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการส่งเสริม
และพัฒนาผู้เรียน ครูให้เข้าถึงแพลตฟอร์ม
สื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัด ประเมิน และพัฒนาผู้เรียน
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย

ร้อยละ

100

น.ส.กุลนิษฐ์

     ทองเกลี้ยง

นายพนภาค

     ผิวเกลี้ยง

 

13

ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา

ได้รับการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

มีจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู

ร้อยละ

90

น.ส.รัชนิดา สิงห์มณี

แนวทางการพัฒนา

ที่

แนวทางการพัฒนา

คุณภาพผู้เรียน

1

จัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

2

ส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ
การเรียนรู้ อย่างครบถ้วน เป็นคนดี มีวินัย มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และน้อมนำพระบรมราโชบาย
ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติ

3

พัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาพหุปัญญารายบุคคล โดยมีเครื่องมือคัดกรอง/สำรวจแวว/วัดความสามารถ ความถนัด สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตอบสนองความแตกต่าง
ทางพหุปัญญาของผู้เรียน โดยครูออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสอดคล้องตามบริบทและวัฒนธรรม คำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลตามความถนัด ความสนใจ
ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ

4

จัดการศึกษาตามขีดความสามารถของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความถนัด และศักยภาพ
ของแต่ละบุคคล วางรากฐานการศึกษาเพื่ออาชีพให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ความต้องการ
ของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ

5

พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะและทักษะด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ การคิดขั้นสูง นวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เชื่อมโยงสู่อาชีพและการมีงานทำ มีทักษะอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

6

ส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่นำไปสู่ Digital Life & Learning

7

ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันและหารายได้ระหว่างเรียน

8

ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

คุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

9

ส่งเสริมให้ครูสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรม
(Co-creation) ให้กับผู้เรียนในทุกระดับชั้น

10

ส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มีจรรยาบรรณ และจิตวิญญาณความเป็นครู

11

พัฒนาศักยภาพครูในด้านการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment For Learning) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized Learning)
เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Intensive Training การอบรมแบบออนไลน์ (Online Training)
การอบรมแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง (e-learning) เป็นต้น

หลักสูตรและอื่น ๆ

12

พัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษาบนฐานมโนทัศน์ที่หลากหลาย เช่น Career Education , Competency Building , Creative Education 

13

พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ

14

พัฒนาระบบคลังข้อสอบมาตรฐานในการประเมินคุณภาพผู้เรียนรอบด้านเพื่อให้บริการแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในรูปแบบออนไลน์

15

พัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ของผู้เรียน และสมรรถนะของผู้เรียน

16

พัฒนาและส่งเสริมให้มีแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้อัจฉริยะ ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนที่มีคุณภาพ และการประเมินและพัฒนาผู้เรียน
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Personalized learning) สำหรับผู้เรียนทุกช่วงวัย

17

บูรณาการการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อด้านอาชีพและการประกอบอาชีพหรือการมีงานทำตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน

18

สนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตรและการพัฒนาครู สายสามัญ ปฐมวัย การศึกษาพิเศษ การศึกษา
ตามอัธยาศัย ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ สนับสนุนการพัฒนาระบบและกระบวนการบริหารจัดการกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และระบบการนิเทศการศึกษา และการสอนงานของครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษา

19

พัฒนาหลักสูตรใหม่ ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษาที่มีความพร้อมและสมัครใจ โดยใช้ในระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาตอนต้น รวมถึงการจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นตามบริบท
หรือความต้องการของสถานศึกษา เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้
ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัยเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

20

ส่งเสริมสนับสนุนศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

 

 

กลยุทธ์ที่ 3  เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา

                  เป้าหมาย

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน
  3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีระบบการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะอัตรากำลังและงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
  4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท
  5. สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษาที่อยู่ในเขตพื้นที่ลักษณะพิเศษ
    และโรงเรียนคุณภาพ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบท

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย

ปี 2568

ผู้รับผิดชอบ

1

การบริหารจัดการ และการให้บริการ

1.1

ร้อยละของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีการพัฒนาบริหารจัดการและการให้บริการการศึกษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย

ร้อยละ

100

นายพนภาค

       ผิวเกลี้ยง

และทุกกลุ่ม

2

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการประกันคุณภาพภายในระดับดีเลิศขึ้นไป

ร้อยละ

85

น.ส.ปุณยนุช

       ทองศรี

และคณะ

3

จำนวนครั้งของประชากรที่เข้าถึงระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล หลักสูตร สื่อ และแหล่งเรียนรู้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ครั้ง

19,500

นายพนภาค

       ผิวเกลี้ยง

4

ร้อยละของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาเป้าหมาย ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA Online

ร้อยละ

85

น.ส.นวมลลิ์

      วงษ์สนิท
นางพิชญาวรรณี 

       อุ่นเรือนงาม

นางประกายมาศ

      บุญสมปอง

น.ส.โสภา

      สุวรรณธรรม

5

ร้อยละของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สถานศึกษาพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร

และโรงเรียนคุณภาพ ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพ

การจัดการศึกษาตามบริบทพื้นที่

ร้อยละ

100

น.ส.ณัฏฐ์ชนินาถ 
       วทัญญู

น.ส.โสภา

      สุวรรณธรรม

น.ส.อธิชา 

      ประทุมเวียง

6

ร้อยละของโรงเรียนคุณภาพที่ผ่านเกณฑ์

การประเมินมาตรฐาน (school grading)

ที่มีคะแนนไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน

ร้อยละ

95

 

 

น.ส.โสภา

      สุวรรณธรรม

7

ร้อยละของโครงการของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ที่บรรลุผลสัมฤทธิ์

ตามค่าเป้าหมายแผนย่อย

ร้อยละ

100

น.ส.เสวรี น้อยนาท

แนวทางการพัฒนา

ที่

แนวทางการพัฒนา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัล
มาใช้ในการบริหารจัดการและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

1

พัฒนาระบบสารสนเทศในหน่วยงานทุกระดับให้มีระบบข้อมูลจัดการและรายงาน (ปพ. Online/ระบบรายงานผลต่อพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวก/พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล/ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของสถานศึกษา/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา (อาคาร ครุภัณฑ์))/ด้านบุคลากร)

2

พัฒนาระบบพื้นฐานทางเทคโนโลยีให้ครอบคลุมทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(การให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ต การใช้อุปกรณ์ด้าน ICT และการพัฒนา Software) อย่างคุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพสูงสุด

3

พัฒนาและส่งเสริมการใช้ระบบบริหารด้านการจัดการศึกษาพื้นฐานที่ดีสำหรับสถานศึกษา
ให้เป็นระบบเดียวเพื่อลดภาระงานครู ลดความซ้ำซ้อนของระบบงานและการจัดเก็บข้อมูล

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน

4

ส่งเสริม สนับสนุนการประกันคุณภาพของหน่วยงานในสังกัด

5

พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับ Digital Literacy และสมรรถนะครูในทุกด้าน

6

พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมและการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล

7

เสริมสร้างขวัญกำลังใจในความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษามีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับบริบท

8

บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานในการจัดการศึกษา (Open Data/ Data Catalog) ทั้งในและนอกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

9

ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัด เพื่อบูรณาการ การใช้ทรัพยากรของสถานศึกษา โดยใช้พื้นที่เป็นฐานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน

10

ส่งเสริมทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร (มาตรการทางภาษี บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก)

11

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การบริหารจัดการศึกษาจากภาคส่วนต่าง ๆ

สถานศึกษาพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร  ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับบริบท

12

ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ให้ได้รับการพัฒนาการจัดการศึกษาที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่

13

บูรณาการ การบริหารจัดการศึกษาทุกภาคส่วนของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

14

ขยายผลนวัตกรรมที่ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสู่พื้นที่อื่น ๆ

สถานศึกษาอื่น ๆ

15

พัฒนาสถานศึกษาในสังกัดให้มีคุณภาพ ยั่งยืน สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยเฉพาะโรงเรียนคุณภาพประถมศึกษา โรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ (Stand Alone) 

สถานศึกษาตามโครงการพระราชดำริ และโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา

 

กลยุทธ์ที่ 4  ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความปลอดภัยจากภัยทุกรูปแบบ

      เป้าหมาย

  1. ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยและสามารถปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ
  2. สถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัย และจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สถานศึกษาได้รับการส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
    เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน
  4. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

ที่

ตัวชี้วัด

หน่วยนับ

ค่าเป้าหมาย

ปี 2568

ผู้รับผิดชอบ

1

ร้อยละของผู้เรียนที่มีความรู้ความเข้าใจ

และทักษะเพื่อรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่

ทุกรูปแบบ และทุกประเภท

ร้อยละ

100

นายธนพรรณ

        บุญจันทร์

 

2

ร้อยละของสถานศึกษาที่มีการประเมินความเสี่ยง และมีแผน/มาตรการ กิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness)
หรือทักษะในการรับมือด้านความปลอดภัย

(Safety Action) ทุกรูปแบบ และมีการดำเนินการตามแผนอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ

100

นายธนพรรณ

        บุญจันทร์

 

 

แนวทางการพัฒนา

ที่

แนวทางการพัฒนา

1

สนับสนุน พัฒนา และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อ

ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต เพื่อสามารถดำเนินชีวิตในวิถีใหม่และชีวิตวิถีถัดไปได้อย่างถูกต้อง

2

จัดกิจกรรมในการสร้างความตระหนักรู้ (Safety Awareness) หรือการซักซ้อม ในการรับมือกับ

ภัยพิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ (Safety Action) ที่ผู้เรียนอาจต้องเผชิญ และมีแผน/มาตรการ

ในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำที่เกิดขึ้นได้ในวิถีชีวิตใหม่ เพื่อให้สถานศึกษา

เป็นพื้นที่ปลอดภัย

3

พัฒนาระบบและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา
และสถานศึกษา ให้ได้รับความปลอดภัยจากภัยและพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเปิดให้มีช่องทางการร้องเรียนหรือแจ้งเหตุให้กับผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู เพื่อสื่อสารกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง รวมถึงการใช้ Big Data และแอปพลิเคชันในการเฝ้าระวังเชิงรุก เพื่อสามารถคาดการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การซักซ้อมในการรับมือกับภัยพิบัติและภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนอาจต้องเผชิญ และส่งเสริมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายนอก ให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยได้อย่างทันท่วงที

4

พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา  โดยการสนับสนุนหรือประสานการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อให้อาคารเรียนอาคารประกอบของสถานศึกษา

ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และความปลอดภัยของผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงส่งเสริม และประสานการสนับสนุนบุคลากร ด้านจิตวิทยา และบุคลากรด้านความปลอดภัย

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

5

ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษา ให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของผู้เรียนให้มีทักษะในการป้องกันและปรับตัว โดยเฉพาะในกรณีมีกิจกรรมนอกสถานศึกษา

6

ส่งเสริมให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และจัดทำแผนบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงแผนดำเนินธุรกิจ

อย่างต่อเนื่องสำหรับการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (BCP) และจัดระบบความปลอดภัย

ในภาพรวม  ให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่

7

ผลักดันให้เกิดการออก/ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมาตรการระดับประเทศ

เพื่อสนับสนุนความปลอดภัยให้ผู้เรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

 

สถิติเว็บไซต์

0.png3.png1.png5.png5.png5.png1.png5.png
วันนี้3946
เมื่อวานนี้8038
อาทิตย์นี้11984
เดือนนี้244868
รวม3155515

ผู้เยี่ยมชมในขณะนี้

10
ท่าน