นโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการศึกษาไว้ว่า “จัดการศึกษาให้ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะในศตวรรษที่ 21 น้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” โดยมีวิธีการปฏิบัติให้บรรลุความสำเร็จด้วย 6 กลยุทธ์ คือ
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในการจัดการศึกษา
มีวิธีการดำเนินการ มาตรการและตัวชี้วัด ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ
มาตรการ
- พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบและโรคอุบัติใหม่ ทุกระดับความรุนแรง ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
- ยกระดับคุณภาพผู้เรียนในเขตพื้นที่เฉพาะ
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 85 ของผู้เรียนมีการสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ
- ร้อยละ 100 ของผู้เรียนที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรักในสถาบันหลักของชาติยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีคุณธรรมอัตลักษณ์ (พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา) มีจิตสาธารณะ มีจิตอาสา รับผิดชอบต่อครอบครัว ผู้อื่นและสังคมโดยรวม ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย และรักษาศีลธรรม
- ร้อยละ 85 ของผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เช่น ภัยจากยาเสพติด ความรุนแรง การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สินการค้ามนุษย์ อาชญากรรมไซเบอร์ ภัยพิบัติต่าง ๆ และโรคอุบัติใหม่ เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ 2 สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ลดความ เหลื่อมล้ำทางการศึกษา
มาตรการ
- ส่งเสริม สนับสนุนการเกณฑ์เด็กเข้าเรียน
- ส่งเสริม สนับสนุนงบประมาณและปัจจัยพื้นฐาน
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 100 ของผู้เรียนในเขตพื้นที่เฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร เช่น พื้นที่สูง ชายแดน ชายฝั่งทะเล และเกาะแก่ง ได้รับการบริการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพและเหมาะสมตรงตามความต้องการสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
- ร้อยละ 100 ของผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษา และการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมตามความจำเป็น
- ร้อยละ 25 ของนักเรียนยากจนที่ได้รับเงินอุดหนุนปัจจัยพื้นฐาน/กองทุนเพื่อความเสมอภาค
- อัตราการเข้าเรียนของผู้เรียนแต่ละระดับการศึกษาต่อประชากรกลุ่มอายุ
- ระดับปฐมวัย ร้อยละ 100
- ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 100
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 100
กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน
มาตรการ
- พัฒนาหลักสูตรปฐมวัย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรท้องถิ่น
- พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
- ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) ที่มีความเหมาะสมนำมาใช้ในการบริหารจัดการและจัดการเรียนการสอน
- ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดห้องเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพตามหลักพหุปัญญา
- เพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนให้มีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านดิจิทัล และด้านการคิดวิเคราะห์ เพื่อการแข่งขันของประเทศ
- พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพด้านวิชาการ ตามความสามารถความสนใจ เพื่อรองรับหลักพหุปัญญา (Multiple Intelligences)
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 80 ของผู้เรียนปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในระดับดีขึ้นไป
- ร้อยละ 80 ของผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ สมรรถนะ หรือทักษะอาชีพในด้านต่างๆ เพื่อการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสอดคล้องตามสภาพความต้องการและบริบทของแต่ละพื้นที่ ตลอดจนความท้าทายที่เป็นพลวัตรของโลกในศตวรรษที่ ๒๑
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับการเตรียมความพร้อม (ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA
- ร้อยละ 80 ของผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป เพิ่มขึ้น
- นักเรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ร้อยละ 50 ขึ้นไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
- ร้อยละของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
- ร้อยละของนักเรียน สังกัด สพฐ. มีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตร้อยละ 50
- ร้อยละ 50 ของผู้เรียนทุกระดับที่มีความเป็นเลิศตามหลักพหุปัญญาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนเต็มตามศักยภาพ
- ร้อยละ 30 ของผู้เรียนมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านดิจิทัล และด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อการแข่งขันของประเทศ
- ร้อยละ 100 ของจำนวนสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนที่สร้างสมดุลทุกด้านและมีการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพหุปัญญารายบุคคลเพิ่มขึ้น
- ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรองเพื่อพัฒนาพหุปัญญารายบุคคล
- ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ
มาตรการ
- พัฒนาคุณภาพครูให้มีสมรรถนะสูง เป็นครูยุคใหม่ให้มีทักษะและสมรรถนะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) และยกจิตวิญญาณความเป็นครู
- พัฒนาให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
ตัวชี้วัด
- ครูสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทุกคน ได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษของครูที่สอนภาษาอังกฤษโดยใช้ระดับการพัฒนาทางด้านภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ร้อยละ 80 ของครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานวิชาชีพ และ/หรือสมรรถนะของครูยุคใหม่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 50 ของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้ดิจิทัลให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
กลยุทธ์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการ
- ส่งเสริมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้เป็นสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
- ส่งเสริม สนับสนุน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านจัดการขยะแบบครบวงจรและการปลูกต้นไม้เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการพัฒนาบุคลากรและปรับปรุงสถานที่ ให้เป็นต้นแบบสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
- ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการโดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในการจัดการศึกษา
มาตรการ
- ส่งเสริมการยกระดับสถานศึกษาในสังกัดทุกระดับและทุกประเภท ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามบริบทของพื้นที่
- สร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองระดับท้องถิ่น ภาคเอกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
- ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาไปยังเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาและสถานศึกษา
- พัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพและคำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นหลัก
- ส่งเสริมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการศึกษา
ตัวชี้วัด
- ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่พิเศษและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้รับการพัฒนาการจัดการศึกษาตามบริบท
- สถานศึกษาทุกแห่งบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)
- สถานศึกษาทุกแห่งมีส่วนร่วมและได้รับความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชนและประชาชน ในการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการจัดการศึกษา
- ร้อยละ 80 ของสถานศึกษาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสอดคล้องกับพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562
- ร้อยละ 80 ของสถานศึกษานำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ
- 6. จำนวนกระบวนงานที่ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 2 กระบวนงาน
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่ได้รับการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นอิสระตามแนวทางที่กำหนด
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ผ่านการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการศึกษาได้
- ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาน้อมนำพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณฯพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ร้อยละ 50 ของนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีพฤติกรรมที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต